วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

การป้องกันเชื้อHIV(โรคเอดส์)

การป้องกันการติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่นการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถลดการเกิดอัตราติดเชื้อเหมือนที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการให้ใช้ถุงยาง 100 % เนื่องจากยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่ป้องกันโรคดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรค
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อ HIV จากเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อ HIV จะสามารถติดต่อทางเยื่อเมือก (mucous membranes)เช่น ปลายอวัยวะเพศชาย ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หากเยื่อเมือกเหล่านี้ได้รับเชื้อ HIV จาก น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นของทั้งหญิงและชาย เลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
วิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดแต่ทำยากที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
ป้องกันตัวเองทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางที่ทำจากยาง latex condom หรือ dental dam หากแพ้ยาง latex ให้ใช้ชนิด polyurethane condoms นอกจากการเลือกใช้ชนิดของถุงยางแล้ว ต้องเรียนรู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง ห้ามใช้สารหล่อลื่นที่เป็นไขมันเพราะจะทำให้ถุงยางรั่ว
กิจกรรมอะไรที่เสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
การช่วยตัวเอง การกอดรัดเล้าโลม การจูบ พวกนี้มีโอกาสการติดเชื้อต่ำ
การมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางทวารและช่องคลอดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
การมีเพศสัมพันธ์ทางปากก็มีความเสี่ยง ดังนั้นต้องใส่ถุงยางป้องกัน



การป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
เชื้อ HIV สามารถติดต่อผ่านทางเข็มฉีดยาที่ใช้ร่วมกัน เข็มดังกล่าวจะปนเปื้อนเลือด ดังนั้นวิธีป้องกันการติดเชื้อทำได้ดังนี้
หยุดยาเสพติดและเข้ารับการบำบัดเพื่อหยุดยาเสพติด
หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ให้ใช้เข็มใหม่ทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เข็มร่วมกัน ก็ให้ล้างเข็มให้สะอาดด้วยน้ำโดยการฉีดล้างกระบอกฉีดยา และแช่เข็มในน้ำยาฆ่าเชื้อ 1 นาที
การป้องกันการติดเชื้อ HIV ในคนท้อง
เด็กที่คลอดจากแม่ที่มีเชื้อ HIV สามารถรับเชื้อจากแม่ขณะตั้งครรภ์ และการคลอด ปัจจุบันหากทราบว่าคนท้องมีเชื้อ HIV สามารถให้ยา AZT ซึ่งสามารถลดอัตราการติดเชื้อลง
การป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรค
ทางการแพทย์มีประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังสัมผัสโรคโดยศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ถูกเข็มตำ พบว่าหากให้ AZT หลังถูกเข็มตำจะสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 80 จากความรู้นี้สามารถนำมาใช้กับการสัมผัสโรคHIVโดยทางเพศสัมพันธ์ ก็น่าจะให้ยาป้องกันได้ การป้องกันดีที่สุดคือไม่มีเพศสัมพันธ์ การใส่ถุงยาง การมีเพศสัมพันธ์แบบ safer sexual practices หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันไม่ว่าทางทวารหรือทางปกติ oral sex กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ที่ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ควรจะได้รับยาป้องกันภายใน 3 วันหลังสัมผัส และหากท่านทราบว่าตัวเองติดเชื้อ HIV และไปร่วมเพศกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อท่านต้องแจ้งให้คู่ขาทราบภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อที่คู่ขาจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ HIV
การบริจาคเลือด
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ห้ามบริจาคเลือดโดยเด็ดขาด

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

เป็นการยากที่จะตัดสินว่า คำใดเป็นภาษาพูด คำใดเป็นภาษาเขียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว และบางคำอยู่ตรงกลางคืออาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้ ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้
๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น เยอะแยะ โอ้โฮ จมไปเลยแย่ ฯลฯ
๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น ชักดาบ พลิกล็อค โดดร่ม
๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้ เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ
๔. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ
๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน หรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด
สุนัข หมา สุกร หมู กระบือ ควาย
แพทย์ หมอ เครื่องบิน เรือบิน เพลิงไหม้ ไฟไหม้
ภาพยนตร์ หนัง รับประทาน ทาน,กิน ถึงแก่กรรม ตาย,เสีย
ปวดศีรษะ ปวดหัว เงิน ตัง(สตางค์) อย่างไร ยังไง
ขอบ้าง ขอมั่ง กิโลกรัม,เมตร โล,กิโล ฯลฯ
๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด
ฉัน ชั้น เขา เค้า ไหม ไม้(มั้ย)
เท่าไร เท่าไหร่ หรือ หรอ,เร้อะ แมลงวัน แมงวัน
สะอาด ซาอาด มะละกอ มาลากอ นี่ เนี่ยะ
๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด
ตาย ต๊าย บ้า บ๊า ใช่ ช่าย
เปล่า ปล่าว ไป ไป๊ หรือ รึ(เร้อะ)
ลุง ลุ้ง หรอก หร้อก มา ม่ะ
๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น เช่น ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะ ไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ
๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิด เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
คำซ้ำ ดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร
คำซ้อน มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง
ที่มา:www.jd.in.th/e_learning/media/kanarn/Text402110.doc

การร้อยพวงมาลัยดอกไม้สด


การร้อยพวงมาลัยดอกไม้สด

การประมวลภาพการอบรมการร้อยมาลัยดอกไม้สด
วิธีทำการร้อยมาลัยดอกไม้สดแถวที่ 1 มะลิ 2 ใบกระบือ 1 มะลิ 2 ร้องเรียงต่อกันในลักษณะไม่เกินครึ่งวงกลมแถวที่ 2 มะลิ 1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 ร้อยเรียงต่อกันโดยร้อยมะลิดอกแกรอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 1 และกลีบต่อ ๆ ไปก็ร้อยสับหว่างกันไปเรื่อย ๆ ตามลำดับแถวที่ 3 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างแนวเดียวกับมะลิดอกแรกของแถวที่ 1 ) ใบกระบือ 1 ดอกพังพวย 1 ใบ กระบือ1 มะลิ 1 โดยร้อยสับหว่างเรียงกัน ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับแถวที่ 4 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับใบกระบือใบแรกของแถวที่ 3 ) ใบกระบือ 2 มะลิ 1 แต่กลีบร้อยสับหว่างกันไปเรื่อย ๆ แถวที่ 5,9 และ 13 ร้อยเหมือนแถวที่ 1แถวที่ 6,8,10,12,14 และ 16 ร้อยเหมือนแถวที่ 2แถวที่ 7,11 และ 15 ร้อยเหมือนแถวที่ 3หมายเหตุ จะร้อยจำนวนกี่แถวก็ได้ย่อมแล้วแต่ความยาวตามที่ต้องการจะใช้แต่ควรจะต้องจบลงด้วยแถวมะลิ1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 เสมอ และควรจะต้องให้ลายต่อกันได้ครบลายพอดีในเวลาที่ผูกมัดแล้วมาลัยซีกสิบเอ็ดหลักแบบมีลายแถวที่ 20 @ @ @ @ @ แถวที่ 19 @ @ @ @ @ @แถวที่ 18 @ @ # @ @แถวที่ 17 @ @ # # @ @แถวที่ 16 @ # © # @ แถวที่ 15 @ # © © # @แถวที่ 14 # © $ © # แถวที่ 13 # © $ $ © #แถวที่ 12 © $ & $ © แถวที่ 11 © $ & & $ ©แถวที่ 10 © $ & $ © แถวที่ 09 # © $ $ © #แถวที่ 08 # © $ © #แถวที่ 07 @ # © © # @ แถวที่ 06 @ # © # @ แถวที่ 05 @ @ # # @ @แถวที่ 04 @ @ # @ @แถวที่ 03 @ @ @ @ @ @ แถวที่ 02 @ @ @ @ @แถวที่ 01 @ @ @ @ @ @ หลักที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11@ = กลีบกุหลาย (ด้านโคน)© = กลีบกุหลาบ (ด้านปลาย)# = ใบแก้ว หรือใบมะยม$ = ดอกพุด& = ดอกผกากรองตูม หรือดอกกะเม็ง
วิธีทำแถวที่ 1 กุหลาบด้านโคน 6 ร้องเรียงต่อกันให้มีลักษณะครึ่งวงกลมแถวที่ 2 กุหลาบด้านโคน 5 ร้อยแต่ละกลีบให้สับหว่างกับแถวที่ 1แถวที่ 3 กุหลาบด้านโคน 6 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 1แถวที่ 4 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 3) ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 2แถวที่ 5 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 3) ใบ 2 กุหลาบด้านโคน 2แถวที่ 6 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1แถวที่ 7 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 2 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1แถวที่ 8 ใบ 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 แถวที่ 9 ใบ 1 (อยู่ตรงกับกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 2 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1แถวที่ 10 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ระหว่างใบแรกกับกุหลาบด้านปลายกลีบแรกของแถวที่ 9) พุด 1 ผกากรองตูม 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 11 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ตรงกับใบแรกของแถวที่ 9 ) พุด 1 ผกากรองตูม 2 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 12 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 10แถวที่ 13 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 9แถวที่ 14 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 8แถวที่ 15 ร้อยเหมือนกับแถวที 7แถวที่ 16 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 6แถวที่ 17 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 5แถวที่ 18 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 4แถวที่ 19 กุหลาบด้านโคน 6 (ร้อยเหมือนกับแถวที่ 3)แถวที่ 20 กุหลาบด้านโคน 5 (ร้อยเหมือนกับแถวที่ 2)หมายเหตุ ถ้าต้องการซีกยาว ๆ จะต้องร้อยลายต่อกันหลายลาย เมื่อจบแถวที่ 20 แล้วให้เริ่มร้อยตั้งแต่แถวที่ 1 -20 ก็จะได้อีก 1 ลาย จะร้อยจำนวนกี่ลายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความยาวที่ต้องการจะใช้
หน้าที่ใช้สอบของมาลัยซีก1. ใช้รัดปิดรอยต่อมิให้เห็นปม หรือความไม่เรียบร้อย2. ใช้คล้องต่อกันเป็นมาลัยลูกโซ่3. ใช้ทำเป็นมาลัยชำร่วย4. ใช้ทำเป็นมาลับเถา5. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกทัดหู6. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกไม้สำหรับปักแจกัน หรือ จัดดอกไม้แบบต่าง ๆ 7. ใช้รัดผมมวย8. ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทยบางอย่าง
@.. วิธีการร้อยมาลัยตะกร้อ...@
การงานอาชีพและเทคโนโลยี





งานร้อยมาลัยลูกปัด เป็นงานฝีมืออีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ
ในขณะนี้ อาจจะเป็นเพราะความแปลกใหม่ สวยงามแปลกตา
วัสดุ อุปกรณ์ไม่มาก ขั้นตอนและวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยาก รวมถึง
รูปแบบหรือผลงานที่สำเร็จออกมาก็มีความประณีต สวยงาม
อีกด้วย
...
มาลัย แบบแรกที่จะนำเสนอ คือ ...มาลัยตะกร้อ
วัสดุอุปกรณ์
1. ลูกปัดเงิน
2. หยดน้ำสีฟ้า
3. เอ็น
4. กรรไกร
5 ด้าย
6. เข็ม
7. ดอกไม้ทอง
8. ดอกกุหลาบแดง
9. โบว์สำเร็จ
10. ริบบิ้น
วิธีการทำ
1. ร้อยลูกปัดเงิน 5 เม็ด ร้อยวนเป็นวงกลม
2.- 3. ร้อยต่ออีก 4 เม็ด แล้ววนเป็นวงกลม
4. ร้อยต่อให้เป็นครึ่งวงกลม


5 - 7. ร้อยต่อจากครึ่งวงกลมให้เป็นลูกตะกร้อ
วนขึ้นตอนจบเหลือแค่ 1 เม็ดตามแบบ

8 - 9. ร้อยลูกเต๋า 2 ลูก ตามแบบ


10 - 13. ร้อยลูกปัด 4 เม็ด ร้อยวนเป็สี่เหลี่ยม
ร้อย 3 ช่วงดอก ตอนจบ ใส่ข้างละ 1 เม็ด ก็จะเป็นลูกเต๋า
..............................................................................................
การร้อยอุบะ


14 - 15. ร้อยดอกกุหลาบด้วยเข็ม ตามด้วยดอกไม้ทอง
หยดน้ำสีฟ้า ลูกปัด ดอกไม้ทอง ลูกปัด
ทำให้ได้ 3 ขา ร้อยรวมกัน



16 - 17. ร้อยตะกร้อกับลูกเต๋าติดกัน ทำห่วงข้างบน
ร้อยอุบะติดด้านล่างตามแบบ

18. . ร้อยโบว์กับริบบิ้นติดกับพวงมาลัย


19. ชิ้นงานสำเร็จ
...........................................................................
ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูลจาก
หนังสือ มาลัย ลูกปัด
โดย น้ำค้าง จินดาศักดิ์ สำนักพิมพ์วาดศิลป์
****
** .....บลอกนี้นำเสนอ ...เพื่อท่านผู้สนใจเรื่องการร้อยมาลัยลูกปัด
ท่านผู้ใดสนใจ ลองนำไปทำดูนะ หรือท่านผู้ใดเคยทำมาแล้ว
หรือ มีอะไรที่จะเสนอแนะ นำมาแลกเปลี่ยนกันได้ที่บลอกนี้นะคะ



ที่มา
www.kr.ac.th/ebook/pornpen/b1.htm - 493k -

eLearning


eLearning


eLearning ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์ในนิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002 หน้า 26-28
นิยามและความหมาย
ความหมายของคำว่า e-learning หรือ Electronic Learning ในปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาและการนำไปใช้ แต่กล่าวโดยทั่วไปแล้ว e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ e-learning หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนสื่อและเอกสารประกอบการสอนเดม ที่อยู่ในรูปสื่อกระดาษ (Paper base ) แผ่นใสหรือหนังสือ แปลงให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic format) เช่น แฟ้มข้อมูลชนิด Microsoft Word หรือ Microsoft PowerPoint หรือแปลงเป็นเว็บเพจแล้วนำเสนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้ในสื่อ CD-ROM จากนั้น ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสอนแบบ e-learning ซึ่งแนวความคิดนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งนะครับ
การนำระบบ e-learning มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ e-learning แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรียกกันว่า face-to-face หรือ traditional classroom learning อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนำระบบ e-learning เข้ามาใช้ และต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าคุณภาพการเรียนรู้ของระบบ e-learning ต้องไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ
คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
· การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education)
โดยปกติแล้ว การเรียนการสอนทางไกล เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกรสอนระยะทางไกลสู่ผู้เรียนหนึ่งคน หรือมากกว่าในสถานที่ต่างกัน
การเรียนการสอนแบบทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ทางไกล หน่วยงานที่มีชื่อว่า National Center for Education Statistics(NCES) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแบ่งยุคต่างๆของเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนแบบทางไกลไว้เป็น 4 ยุค ด้วยกัน แสดงในตารางที่ 1 ตอน
รูปแบบของการเรียน
ในสิ่งแวดล้อมชั้นเรียนปกติ
ในแบบเรียนในระบบ e-learning
เรียนรู้จากการฟัง (Learning by listening)
ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน
ใช้ระบบวีดิทัศน์ออนดีมานต์ผ่านทางเว็บเพจที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเมื่อใดก็ได้หรือสามารถเก็บไฟล์ไว้ดูเอง
เรียนรู้จากการค้นคว้า(Discovery learning)
ผู้เรียนค้นคว้าจากห้องสมุดหรือค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Search Engines ต่างๆการค้นคว้าแบบนี้ค่อนข้างจะให้ผลที่บางครั้งดีกว่าการค้นคว้าจากห้องสมุดปกติ
เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn by doing)
ปฏิบัติการในห้องทดลอง หรือการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ ต่างๆ รวมถึงการเขียนรายงานการสร้างบางสิ่งบางอย่างตามจุดประสงค์
ใช้การเรียนรู้แบบโมดูลการใช้แบบจำลองออนไลน์(Online Simulation) ที่เป็นทั้งระบบปฏิสัมพันธ์(Interactive) กับผู้ใช้ รวมถึงการเขียนรายงานส่งออนไลน์ การวิจารณ์ต่างๆส่งผ่านอออนไลน์
เรียนรู้จากการโต้ตอบ หรือ สนทนาในชั้นเรียน (Learn Through Discussion and Debate)
เช่นในวิชาสัมมนาที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสนทนา และโต้ตอบในชั้นเรียนส่วนใหญ่และจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หากมีผู้เรียนจำนวนมาก
ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การสนทนาดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนปกติ เมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก
HOME / CAI / ELEARNING / AUTHORWARE / TIPS / NEWS / ARTICLES / ABSTRACTS BOOKS / GLOSSARY / DOWNLOAD / LINKS / FORUM / GUESTBOOK / CONTACT / ABOUT

Copyright © 2001 Nip Emarath Sister Sites: ThaiStudent & ThaiTeacher Last Update: July 24, 2002 Questions? webmaster@thaicai.com

ที่มาwww.krucai.com